แผนทีนครอ๊าร์ตแต่งรูปเก่าเป็นรูปใหม่ 03รูปวาดสีน้ำมัน oil paintingแต่งรูปเก่าเป็นรูปใหม่ 01แต่งรูปเก่าเป็นรูปใหม่ 02

รูปถ่ายท่ารำใส่ชุดมโนราห์

ท่าพนมมือไหว้ ชุดมโนราห์ท่ารำจับขวาเพียงเอว มโนรา

ถ่ายรูปใส่ชุดมโนราห์ แสดงท่ารำแบบต่างๆ ได้อย่างสวยงาม ได้รับเกียรติจาก อนุรักษ์ บันเทิงศิลป์ ต.บางรูป อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช

โนราเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เป็นที่นิยมของคนในภาคใต้ องค์ประกอบหลักในการแสดงโนรา คือเครื่องแต่งกาย และเครื่องดนตรี

เครื่องแต่งกายประกอบด้วย เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง เครื่องลูกปัดร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัวท่อนบนแทนเสื้อ ปีกนกแอ่นหรือปีกเหน่ง ทับทรวงปีกหรือหางหงส์ ผ้านุ่ง สนับเพลา ผ้าห้อยหน้า ผ้าห้อยข้างกำไลต้นแขน-ปลายแขน และเล็บ ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องแต่งกายของโนราใหญ่หรือโนรายืนเครื่อง ส่วนเครื่องแต่งกายของตัวนางหรือนางรำเรียกว่า “เครื่องนาง” ไม่มีกำไลต้นแขนทับทรวง และปีกนกแอ่น

เครื่องดนตรีของโนรา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องตีให้ จังหวะ ประกอบด้วย ทับ (โทนหรือทับโนรา) มี ๒ ใบ เสียง ต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญ ที่สุด เพราะทำหน้าที่คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยน จังหวะทำนองตามผู้รำ กลองทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและ ล้อเสียงทับ ปี่ โหม่ง หรือฆ้องคู่ ฉิ่ง และแตระ

อ้างอิง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม